Individual Characters by Manita Songserm
นิทรรศการ ตัวอักษรและที่ว่าง (Individual Characters) ศิลปิน มานิตา ส่งเสริม จัดแสดงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 – 5 มกราคม 2563 The Jam Factory
“ตัวอักษรคือการสื่อสารรูปแบบหนึ่งได้อย่างตรงไปตรงมา”
มานิตา ส่งเสริม หลายคนรู้จักเธอในฐานะ กราฟิกดีไซน์เนอร์ หรือ นักออกแบบ เธอคือศิลปินรุ่นใหม่ที่สร้างผลงานผ่านตัวอักษร ตั้งแต่ปี 2556 (นิทรรศการ Cross Stitch จัดโดยหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร) นิทรรศการครั้งนี้ถือเป็นนิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกของมานิตา ส่งเสริม ที่ทำงานร่วมกับ เดอะแจมแฟคทอรี่ แกลลอรี่
Manita Songserm, commonly known as a graphic designer, is an up-and-coming artist who has been using “type” to create her artwork since 2013. (The exhibition Cross Stitch was displayed at the Bangkok Art and Culture Centre or BACC) Individual Characters is going to be Manita Songserm’s first solo exhibition at The Jam Factory.
ตัวอักษรและที่ว่าง ประกอบไปด้วยพื้นที่จัดแสดงสองส่วน ส่วนแรกคือ กระบวนการสร้างงาน ผลงานที่ผ่านมา ส่วนที่สองคือผลงานที่สร้างใหม่ ที่แสดงผ่านผลงาน karəktəˈrɪstɪk เพราะความชอบต่องานสิ่งพิมพ์ จึงอยากเล่าเรื่องผ่าน wall text paper ซึ่งเป็นการหยิบตัวอักษรและวัตถุดิบที่เคยออกแบบไว้ ไม่ว่าจะเป็นโปสเตอร์นิทรรศการ, โปสเตอร์ภาพยนตร์, ปกหนังสือ, สิ่งพิมพ์ และ exhibition graphic design นำมาทำ ใหม่ เหมือนเป็นการทดลองเล่นกับการจัดวางและแสดงความแตกต่างของเอกลักษณ์ของแต่ละตัวอักษรได้อย่างชัดเจน
“ when type is as important as image.”
The exhibition consists of two sections: the creation process and the newly created work named karəktəˈrɪstɪk. Due to her strong passion in printed matter, Manita would like to express herself through the wall text. The artist then conducted an experiment by incorporating and rearranging characters into her previous artwork, e.g. exhibition posters, movie posters, book covers, publications, or graphic designs. Subsequently, the idiosyncrasies of individual character became more prominent.
งานชิ้นแรกที่มานิตาเริ่มออกแบบอย่างจริงจัง
โปสเตอร์นิทรรศการ Cross Stitch หรือที่เรารู้จักในชื่อ ข้ามตะเข็บ เธอได้ร่วมงานกับ Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ฝ่ายนิทรรศการตั้งแต่ ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน ถือเป็นงานชิ้นแรกที่มานิตาได้เริ่มออกแบบอย่างจริงจัง
As a part of Y.A.N. (Young Artist Network) a pilot project for young artists by BACC, CROSS STITCH is an exhibition presenting the works of young artists invited through the eyes of the former generations artists.
นิทรรศการ Cross Stitch หรือ ข้ามตะเข็บ เป็นนิทรรศการที่ต้องการผลักดันศิลปินรุ่นใหม่ โดยให้ศิลปินรุ่นใหญ่ในแต่ละสาขาคัดเลือก กราฟิกจึงถอดมาจากการเย็บปักและตัวอักษรดิจิตอล รวมทั้งเรื่องคู่สีตรงข้าม เขียว/ม่วง แบบสะท้อนแสงที่ต้องการจะเชื่อมความต่างของศิลปินทั้ง 2 รุ่นเข้าไว้ด้วยกัน Cross Stitch ถือเป็นงานชิ้นแรกที่ศิลปินต้องติดต่อโรงพิมพ์ด้วยตัวเอง ตั้งแต่การเลือก pantone และเทคนิคการสกรีนสีพิเศษอีกด้วย
Environmental graphic and identity design for a collaborative art project with curators from Japan and Southeast Asian countries.


ภาพโปสเตอร์นิทรรศการ ‘Mode of Liarsons’ หรือ ‘รยางค์สัมพันธ์’ มานิตาเลือกสื่อสารด้วยตัวอักษรแบบโครงเส้นที่ตัดขาดจากกัน แล้วใช้ลายเส้น (Drawing) ที่มาจากการเดินสายไฟฟ้าที่ยุ่งเหยิงในกรุงเทพฯ จัดโดย Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ Japan Foundation ในปี 2560 นิทรรศการที่มองชิ้นงานศิลปะเป็น ‘ดั่งสิ่งมีชีวิต’ มานิตาได้แรงบันดาลใจจากงานของศิลปินที่จัดแสดงโดยตรง ที่พูดถึงแนวความคิดเชิงชีววิทยา การปรับตัวและแปร สภาพของระบบนิเวศน์ จากการใช้ชีวิตของมนุษย์ ลายเส้นบนโปสเตอร์มีที่มาจากการเดินสายไฟฟ้าที่ยุ่งเหยิงในกรุงเทพฯ มันสะท้อนภาพการใช้ชีวิตและการอยู่ร่วมกันอย่างตลกร้าย เหมือน ตัวแทน และภาพจำความเป็นอยู่แบบคนเมือง ให้เป็นตัวยึดความ สัมพันธ์และตัวเชื่อมระบบของตัวอักษรให้เป็นหนึ่งเดียวกัน



An art exhibition for landscape of rest, using drawing technique present the cordial relation between human and nature.
ทุกครั้งที่ใหม่ทำงาน เราจะสังเกตว่า ศิลปินจะทำงานกับกระดาษด้วย
“พอได้เข้ามาอยู่ในกระบวนการพิมพ์ ก็ยิ่งทำให้เราได้รู้ว่ามีกระดาษอีกมากมาย” ศิลปินพูดถึงกระบวนการทำงานกราฟิกที่ไม่ได้จบในโปรแกรม งานออกแบบแต่ละชิ้นก็ต้องการวัสดุที่ไม่เหมือนกันเพื่อสื่อสารคอนเซ็ปของมันให้ชัดเจนขึ้น
มานิตาเล่าถึงโปสเตอร์นิทรร
Proximity exhibition of distance and relativity, the contemporary art of Poland and Thailand. The artist choose Satinesse’s paper from James Cropper England.
เราจะเห็นว่าผลงานบางชิ้นของใหม่ มักมีการเชื่อมโยงกับเรื่องราวประวัติศาสตร์ศิลป์ มีชิ้นไหนบ้าง ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย?
ปกติเวลาอ่านหนังสือหรือได้ฟังบรีฟเกี่ยวกับงานที่กำลังจะต้องทำ เราชอบไปค้นเบื้อง หลังไม่ว่าจะเป็นของนักเขียนหรือศิลปินแต่ละคนว่าเค้าสนใจประเด็นเรื่องอะไร งานที่ทำขึ้นมา ได้แรงบันดาลใจหรือทำขึ้นในยุคไหน แล้วเราก็ได้รับอิทธิพลจากสิ่งเหล่านี้มาโดยอัตโนมัติ


Book design for Dangravee by Thai National Artist, Rong Wongsawan, an anti-philosophy book that was firstly published in the period of Psychedelic art. Therefore, the designer uses intersection of colour blocks that convey ambiguity, combined with the digital typography to create a strange image which was inspired Vorticism art.
หนังสือ แดงรวี ของคุณรงค์ วงษ์สวรรค์ ซึ่งเคยถูกตีพิมพ์ไปแล้วในช่วงยุค Psychedelic art โดยเส้นเรื่องมีน้ำเสียงของการเล่าถึงหญิงสาวชื่อ แดงรวี ในหลายมุมมอง มิติจากหลายๆ บุคคล ภาษาของเรื่องมีความล้สำหรับในยุคนั้น พอนำมารีปริ๊นท์ใหม่ เรามอง ว่าปกน่าจะไปในทิศทางร่วมสมัย แต่ยังมีเอกลักษณ์ความพิศวงแบบ Psychedelic อยู่ ด้วย การออกแบบตัวอักษรชื่อแดงรวีให้เหลือเพียงเส้น outline ก่อนจะนำรูปวาดซึ่งเล่มนี้เราทำร่วม กับคุณทราย (พิชญา โชนะโต) โดยให้ตีความออกมาเป็น curve ของผู้หญิงที่ซับซ้อนมากๆแล้วเรานำองค์ประกอบทั้งหมดมารวมกันตัดสลับเป็นช่องสีต่างๆ


ปกหนังสือ Revenge ที่ชื่อเรื่องฟังดูเชือดเฉือนแต่เนื้อหาข้างในกลับเดินเรื่องแบบตรง กันข้าม ทั้งจังหวะการเล่าที่ไปอย่างเรียบนิ่ง เดาทิศทางไม่ได้ ตัวละครเส้นเรื่องทับซ้อนกัน เรา หลีกเลี่ยงการใช้สัญลักษณ์รูปภาพต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแก้แค้น ตัดเหลือเพียงการสื่อสารผ่าน Typography จุดสำคัญสำหรับเราที่สุดคือการเลือกรูปแบบ font ให้ตรงกับ character ปก ซึ่ง เล่มนี้ใหม่เลือก GT Sectra รูปแบบตัวอักษรมีที่มาจากกันตัดเฉือนของตัวเชิงให้บางลงอีก ปลายทั้งหมดก็จะดูคมมากกว่าปกติ พอมารวมกับวิธีจัดวางแบบ Futurist ที่มีทิศทางสะเปะสะ ปะ ปะทะกัน เป็นการบอกเรื่องราวทางอ้อมว่าคุณจะต้องเจอกับหนังสือที่ Silence แบบ Violence
Book design for Revenge by Yoko Ogawa, collection of short stories of eleven dark tales inspired by the Futurist and Dada art movement through typography arrangement that disturbs feelings.
จุดเริ่มต้นของซีรีส์ Typewriter Art เกิดจาก
ศิลปินได้สำรวจตัวเองและพบว่า สิ่งที่ทำอยู่ มาโดยตลอดเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการทำงานสิ่งพิมพ์ คือการจัดวางตัวอักษร ไม่ว่าจะในรูป แบบการจัดหน้าหนังสือต่างๆ งานของเธอจึงเป็นการจัดการก้อนข้อมูลจำนวนมหาศาลด้วยการแบ่ง สัดส่วนใน artboard ให้ลงตัว ผ่านผลงงาน The Two Areas, +, l และ ชุด karəktəˈrɪstɪk



ผลงานเหล่านี้จึงเป็นที่มาของการทดลองจัดวางในอีกรูปแบบหนึ่ง … มานิตาสนใจเทคนิคของโปรแกรมออกแบบ เช่น การเล่นกับ character แบบตัวอักษร, paragraph style รูปแบบการจัดหน้า, leading ความห่างระหว่าง บรรทัด, tracking ความห่างของตัวอักษร, kerning ช่องว่างระหว่างตัวอักษร ซึ่งแต่ละครั้งที่เรา เริ่มเรียงข้อความ เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์จะออกมาเป็นอย่างไร โดย แต่ละครั้งเราจะตั้งสมมุติฐานให้กับตัวเอง
ชุดภาพผลงาน karəktəˈrɪstɪk เป็นการใช้วัตถุดิบจําเพาะพวกตัวอักษร หรือไดอะแกรม มาจัดวางให้เห็นในรูปแบบของภาพวาดหรือกวี ยุคโพสต์โมเดิร์นนิสม์ ผ่านเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจําวัน ที่เกิดจากเพลงที่มานิตาฟังในช่วงนี ส่วนใหญ่เพลง ท่ีเธอฟังจะเป็นแนวอัลเทอร์เนทีฟ ดรีมป็อป อาร์ทป็อป ซินท์ป็อป หรือแม้แต่แนวทดลอง ผลงานชิ้นน้ีจึงเป็นการทดลองเล่นกับการจัดวาง และแสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของเธอ ความเรียบง่ายและความขบถ ผ่านรูปแบบ ฟอร์ม โครงสร้าง และชุดตัวอักษร ฟังเพลย์ลิสต์ของเธอได้ ที่นี่
karəktəˈrɪstɪk collection. This collection features the arrangement of materials, specifically types and diagrams, into postmodern paintings or poetry about trivial everyday events, inspired by the kind of music Manita has listened to recently. She likes alter- native pop, dream pop, art pop, synth pop or even experimental music. This artwork is considered an experimental arrangement which presents Manita’s characteristics – simple yet rebellious – through forms, structures, and types. Playlist click HERE




นิทรรศการ ตัวอักษรและที่ว่าง สะท้อนให้เห็นตัวตนของมานิตาได้อย่างชัดเจน เมื่อมองภาพผลงานโดยรวมของเธอเราจะพบว่า ตัวอักษรเป็นจุดแรกที่เรามองเห็น ตัวอักษรคือการสื่อสารรูปแบบหนึ่งได้อย่างตรงไปตรงมา
รู้จักศิลปินเพิ่มเติม มานิตา ส่งเสริม
About Artist Manita Songserm